ผู้เขียน หัวข้อ: ทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชเปิดตลาดเชิงรุก  (อ่าน 2516 ครั้ง)

ออฟไลน์ Jimmes

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
  • Karma: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
การทำเกษตรกรรมในยุคดิจิตอลดูจะแตกต่างจากยุคเก่าอย่างสิ้นเชิง ความมีอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารที่อยู่เหนือขีดจำกัด จึงทำให้คนรุ่นใหม่หรือรุ่นเก่าที่พยายามปรับตัวสามารถทำเกษตรกรรมในรูปแบบที่ทันสมัยได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว
เพราะฉะนั้นถึงแม้จะไม่ได้ร่ำเรียนหรือสืบทอดสายเลือดที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมาแบบแนวคิดสมัยก่อน แต่หากมีใจรักผนวกกับความใส่ใจหาข้อมูลอย่างละเอียด ไปศึกษาดูงานเกษตรตามแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ทำอาชีพอะไร ความสำเร็จในการทำเกษตรกรรมก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างไม่ยาก
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดแล้วสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมทันที คงเป็นกรณีของ คุณไพบูลย์ นาคสีหราช บ้านเลขที่ 1233/45 ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ บุคคลท่านนี้ยึดอาชีพทนายความมายาวนานอยู่ในจังหวัดบ้านเกิด ชอบงานเกษตรเพราะเคยเรียนที่เชียงใหม่ จากนั้นหันเหชีวิตมาเรียนกฎหมายจนยึดอาชีพทนายความมาจนถึงวันนี้
คุณไพบูลย์ นาคสีหราช
ทำเกษตรยุคใหม่ ต้องเน้นผสมผสาน
คุณไพบูลย์ ชี้ว่า การทำเกษตรยุคใหม่ต่างจากยุคก่อนอย่างสิ้นเชิง ทั้งสภาพพื้นที่ปลูก สภาพอากาศ และวัฒนธรรม ดังนั้น การทำเกษตรกรรมยุคใหม่จึงไม่ควรทำเชิงเดี่ยวเหมือนเมื่อก่อน แต่ควรทำแบบผสมผสาน ซึ่งตัวเองมีแผนการทำสวนเกษตรผสมผสานตั้งแต่การเริ่มปลูกไผ่ เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา
ทนายท่านนี้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผลที่ต้องการทำสวนเกษตรผสมผสาน เพราะเป็นการลดความเสี่ยง แล้วยังถือว่าสิ่งที่ปลูกไว้เป็นที่ต้องการของตลาดทุกอย่าง แล้วกำลังมีแผนในอีกไม่ช้าว่าจะปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 รวมถึงมะพร้าวน้ำหอมด้วย ทั้งนี้สวนเกษตรผสมผสานได้จัดวางผังไว้อย่างเหมาะสม ในที่ดิน จำนวน 120 ไร่
ข้าวหอมมะลิ 105 แปลงนี้ปลูกไว้เลี้ยงคนในสวน
ความเป็นคนที่โชคดี เพราะที่ดินอยู่ใกล้กับแม่น้ำมูลมากชนิดข้ามถนนก็ถึง ดังนั้น จึงไม่เดือดร้อนเรื่องแหล่งน้ำ แล้วยังสามารถสูบน้ำเข้ามาใช้ในสวนได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเมื่อหลายปีที่แล้วในช่วงน้ำหลากทำให้แม่น้ำมูลล้นท่วมบ้านเรือนและสวนเกษตรของชาวบ้าน จึงได้มีการจัดสร้างคันดินสูงเลียบตลอดสองฝั่งแม่น้ำมูล ถือเป็นการช่วยแก้ไขน้ำท่วมแปลงสวนเกษตรของชาวบ้านได้หลายแห่ง
ถึงแม้ทนายไพบูลย์จะเคยร่ำเรียนวิชาการด้านเกษตร แต่ด้วยความเป็นผู้ที่ชอบใฝ่หาแล้วแสวงหาเติมความรู้ที่ไม่พบในตำราด้วยการเข้าอบรมสัมมนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านเกษตรใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง แล้วที่สำคัญเขาเป็นแฟนพันธุ์แท้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ชนิดต้องเข้าสัมมนาในทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นมาตลอด แล้วยังนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาปรับปรุงงานเกษตรที่ดูแล พร้อมไปกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากเพื่อนและรุ่นน้องที่รู้จักในสมัยเรียนมหาวิทยาลัย
ดินปลูกที่มีส่วนผสมจากมะพร้าว ใบไผ่ ใบจามจุรี ขี้ไก่
ชี้ ปลูกไผ่ เน้นขายต้นพันธุ์ มีรายได้ยั่งยืน
“ไผ่” คือพืชชนิดแรกที่ทนายไพบูลย์เริ่มปลูก เขามองว่าการปลูกไผ่ควรเน้นขายพันธุ์ เพราะมีความมั่นคงทางรายได้มากกว่าขายหน่อ โดยเลือกปลูกไผ่กิมซุง จำนวน 500 กอ แล้วใช้เวลา 1 ปีครึ่ง สามารถเก็บหน่อได้ ทั้งนี้ ใน 1 กอ มีหน่อไผ่น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 20 กิโลกรัม แต่ถ้าต้องการให้มีหน่อสม่ำเสมอ ควรให้น้ำตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง
สวนไผ่ที่ปลูกแบบยกร่องเพื่อเติมน้ำในช่วงแล้ง
การดูแลต้นไผ่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำขึ้นเอง ที่มีส่วนผสมจากมะพร้าว ใบไผ่ ใบจามจุรี ขี้ไก่ หรือบางคราวอาจใช้ปุ๋ยสูตรเสมอบ้าง เพื่อเป็นการเร่ง สำหรับปุ๋ยคอกใส่กอละประมาณ 30 กิโลกรัม ปีละครั้งในช่วงที่ต้องการให้แตกหน่อ
ต้นพันธุ์ไผ่ที่ลูกค้าจองแล้วจำนวน 3 พันต้น
เลี้ยง วัว ไก่ เป็ด และปลา สร้างรายได้หมุนเวียนทั้งปี
ส่วนการขยายพันธุ์ไผ่ ใช้แขนงมาปักชำ ใช้เวลา 45 วัน สามารถปลูกได้ ขณะนี้เตรียมต้นพันธุ์ที่ลูกค้าสั่งจองจำนวน 3,000 ต้น พร้อมกับเผยรายได้ที่เกิดจากการขายหน่อและต้นพันธุ์ ปีละกว่า 200,000 บาท
“ไผ่ เป็นพืชที่เหมาะกับการปลูกทางภาคอีสาน รวมถึงอีกหลายภาคที่เหมาะสม เพราะไม่เพียงจะสร้างรายได้ แต่การช่วยกันปลูกไผ่มากๆ จะทำให้ช่วยลดโลกร้อน อีกทั้งไผ่ยังมีคุณค่าอื่นๆ อีกมากมาย”
ในบริเวณตรงกลางของพื้นที่ คุณไพบูลย์ จัดสร้างเป็นคอกเลี้ยงวัว สำหรับพันธุ์วัวที่เลี้ยงเพื่อขายพันธุ์ เป็นพันธุ์พื้นเมืองลูกผสมบราห์มันแดง โดยมีเพศเมีย 10 ตัว การเลี้ยงวัวจะเน้นปรับปรุงพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งรายได้จากวัวคือ การขายลูกวัวอายุปีเศษ ตัวละประมาณ 30,000 บาท ทั้งนี้ จะมีรายได้จากการเลี้ยงวัวประมาณปีละแสนกว่าบาท

เลี้ยงวัวเพื่อขายพันธุ์
ทางด้านการเลี้ยงปลา คุณไพบูลย์ เลี้ยงปลาตะเพียนเป็นหลัก ที่ผ่านมาได้ผลผลิตประมาณ 4 ตัน ต่อปี โดยลูกค้าที่มาซื้อปลาตะเพียนคือเจ้าของบ่อปลาหลายแห่ง ซื้อ-ขาย หน้าบ่อ ราคากิโลกรัมละ 50 บาท นอกจากนั้นแล้ว ยังมีโครงการจะแปรรูปปลาตะเพียนเป็นปลาส้ม โดยตั้งใจจะแปรรูปเป็นของฝากโดยใช้แบรนด์ของศรีสะเกษ
อย่างไรก็ตาม แนวคิดการเลี้ยงปลาเป็นธุรกิจของทนายคนนี้ดูจะแปลกกว่าผู้เลี้ยงรายอื่น ตรงที่เขาจะแบ่งเป็นบ่อขุน จำนวน 3 บ่อ ในเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ นอกนั้นเป็นบ่ออนุบาล ที่มีลูกปลา จำนวนกว่า 20,000 ตัว เหตุผลที่ต้องมีการแบ่งแยกบ่อเลี้ยง เพราะต้องการเพาะลูกปลาไว้ให้แข็งแรงก่อน
บ่อปลาตะเพียน ต้องใช้เวลาเลี้ยงไว้ถึง 8 เดือนจึงจับขาย
พอโตขึ้นจึงย้ายมาลงบ่อขุนแล้วจึงจับขาย ทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี ข้อดีอีกประการคือเวลาเลี้ยงจะเลี้ยงพร้อมกัน แล้วเวลาขายก็จับขายพร้อมกัน วิธีนี้จะทำให้ปลามีขนาดเท่ากันทุกตัว เป็นการตัดปัญหาเรื่องความต่างของขนาดปลาเวลาจับขาย รวมถึงยังได้ราคาดีด้วย
ใช้กากถั่วเหลืองเป็นอาหารสำหรับบ่อขุน ทั้งนี้ ใช้เวลาขุนประมาณ 9 เดือน จึงจับขายได้ โดยในช่วงขายปลามีน้ำหนักเฉลี่ยตัวละครึ่งกิโลกรัม กินผักเก่ง วันละประมาณ 400-500 กิโลกรัม

ออฟไลน์ Lindbearg

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
  • Karma: +0/-0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชเปิดตลาดเชิงรุก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2019, 03:06:35 PM »
เป็นเกษตรที่่น่าทำเอามากๆ เลยครับ

ออฟไลน์ มด

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1342
  • Karma: +4/-2
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชเปิดตลาดเชิงรุก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2019, 03:26:29 PM »
เป็นเกษตรที่่น่าทำเอามากๆ เลยครับ
[/quote


ขอบคุณข้อมูล ดี ๆ ครับ