ข้อความโดย: panne rattana
« เมื่อ: มกราคม 17, 2019, 10:26:04 AM »วันก่อนล้างกรองบ่อเลี้ยงปลาที่บ้านแล้วพลาดทำกรองน้ำแห้งไป ๒ ชั่วโมงกว่า คิดว่าคงทำแบคทีเรียตายหมด ตอนนี้บ่อเลยเกิดน้ำเขียว/น้ำตาลครับ ปัญหาคือถ้ามันจะเขียวอยู่ตลอดเวลาก็จะได้รู้ว่ามันเขียว แต่บ่อผมนี่ มันเขียวตอนช่วงหัวค่ำจนถึงเช้า ระหว่างวันก็จะค่อยๆ ใสขึ้นเรื่อยๆ จนตอนเย็นหัวค่ำน้ำจะใส และให้ความหวังมากว่ามันหายแล้ว แต่พอเช้าขึ้นมาน้ำก็กลับไปขุ่นเขียว/น้ำตาลอีก คำถามครับ
แพลงตอนพืชหรือสัตว์อะไรที่มีพฤติกรรมแบบที่กล่าวถึงมานี่บ้างครับ? คือผมเข้าใจมาตลอดว่าถ้าน้ำเขียวมันก็เขียวตลอด และจะเขียวหนักในช่วงกลางวันเนื่องจากเป็นช่วงที่มีการสังเคราะห์แสง และเติบโต แต่ที่เกิดในบ่อตอนนี้มันกลายเป็นใสกลางวันขุ่นตอนหัวค่ำ และเช้า ซึ่งเกินความรู้ และความเข้าใจผมไปแล้ว ท่านใดพอจะมีความรู้หรือประสพการณ์รบกวนด้วยครับ เพราะกำลังกลุ้มมาก ไม่รู้จะจัดการกับมันยังไงดี ตอนนี้สิ่งที่ทำคือ
1. เติมเชื้อแบคทีเรีย อัดลงไปแล้วทั้งแบบน้ำ และแบบผง
2. เตรียมน้ำ และล้นน้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
3. เย็นนี้จะติดหลอด UV ในระบบกรอง
คิดว่าคงจะแก้ปัญหาได้ แต่ก็ยังข้องใจอยู่ดีว่ามันคืออะไร
ข้อมูลบ่อเพิ่มเติมครับ
1. บ่อปูน ปริมาณน้ำประมาณ 5 ตัน แบ่งเป็นบ่อเลี้ยงปลาประมาณ 2.7 ตัน ที่เหลือเป็นระบบกรอง
2. ปลาขนาดประมาณคืบกว่าๆ จำนวน 30 ตัว ก่อนที่จะล้างบ่อกรองแล้วทำแห้งไป ไม่เคยมีปัญหาน้ำเขียวครับ
จจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไมโครซิสติน ได้แก่ แหล่งน้ำที่มีลมสงบหรือลมพัดอ่อน อุณหภูมิ 15-30 องศา ความเป็นกรดด่าง 6-9 ปริมาณไนเตรทและฟอสเฟตสูง ส่วนใหญ่ได้มาจากการปล่อยน้ำทิ้งจากบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม การชะล้างปุ๋ยจากภาคเกษตรกรรม การทิ้งของเสียลงแหล่งน้ำโดยไม่มีการบำบัด ล้วนมีผลทำให้ปริมาณสารอาหารในแหล่งน้ำเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับภูมิอากาศที่ร้อนเหมาะต่อการเจริญของสาหร่าย จึงทำให้สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียมมีการเจริญมีการเจริญเติบโตดี ปี 39-40 สาหร่ายที่ผลิตสารพิษที่เกิดปัญหาส่วนใหญ่คือ
กำจัดสาหร่าย น้ำเขียว/น้ำตาลในบ่อเลี้ยงปลา คลิ๊กที่นี่ https://www.bcithailand.net/กำจัดสาหร่าย/